โครงการ ดวงใจของแผ่นดิน
โครงการ ดวงใจของแผ่นดิน
Heart of the Earth Project
๑. หลักการและเหตุผล
ตามที่สำนักพระราชวังได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต นั้น เพื่อเป็นการร่วมแสดงความอาลัยและถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มูลนิธิประเทศสีเขียวจึงได้จัดทำโครงการ ดวงใจของแผ่นดิน (Heart of the Earth Project) เพื่อให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชนทุกหมู่เหล่า นักเรียน นัก ศึกษาได้มีโอกาสร่วมแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ ศึกษาเรียน รู้พระราชกรณียกิจและพระราชปณิธานของพระองค์ โดย
๑.๑ ได้รวบรวมหนังสือชุดเทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ สำหรับมอบเป็นสิทธิประโยชน์ตอบแทน ให้กับผู้ที่ได้ร่วมสนับสนุน โครงการฯเก็บไว้ศึกษาเรียนรู้ในองค์กรหรือเพื่อนำไปมอบให้เด็กนัก เรียน นักศึกษาตามโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ จำนวน ๓๐,๐๐๐ ชุด ราคาชุดละ ๑๕,๒๔๑บาท ซึ่งใน ๑ ชุด มี ทั้งหมด ๑๙ เล่ม ดังนี้
ชุดที่ ๑ เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ จัดทำเป็น ๒ ภาษา (ไทย-อังกฤษ) จำนวน ๙ เล่ม
ชุดที่ ๒ เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ บรรจุกล่องแข็ง จำนวน ๖ เล่ม
ชุดที่ ๓ การ์ตูนชุดสดุดีมหาราชา เทิดไท้องค์ ราชัน รัชกาลที่ ๙ ฉบับเยาวชน บรรจุกล่องแข็ง จำนวน ๔ เล่ม
๑.๒ จัดชุดข้อสอบประกาศนียบัตรทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล หรือ International Computer Driving Lisense (ICDL) สำหรับมอบเป็นสิทธิประโยชน์ตอบแทน ให้ผู้สนับสนุนโครงการฯนำไปมอบให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ จำนวน ๕๐,๐๐๐ ชุด ราคาชุดละ ๗,๙๐๐ บาท
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อแสดงความอาลัยและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช
๒.๒ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนไทย ให้ได้รับการเรียนรู้ที่ทันสมัย เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หรือ "Thailand 4.0"
๒.๓ เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ของเยาวชนไทยในสถานศึกษาให้ได้รับการ ศึกษาที่ดี มีระบบ และเท่าเทียมกับมาตรฐานในระดับสากล
๒.๔ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมวิวัฒน์พลเมืองแก่เยาวชน ในการ พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒.๕ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนไทยในวัย เรียน ที่ประพฤติดี มีความกตัญญู และมีความสามารถด้านกีฬา
๒.๖ เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนสถานศึกษาที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และอุปกรณ์ด้านการกีฬา
๒.๗ เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติประวัติให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่เป็นต้นแบบ
๒.๘ เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติประวัติให้กับผู้สนับสนับสนุนโครงการฯจากทุกภาค ส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป ที่ได้ร่วม กันทำความดี
๓. เป้าหมาย
๓.๑ ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนไทยให้ได้รับการเรียนรู้ การ ศึกษาที่ดีอย่างมีระบบ
๓.๒ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับเยาวชน ไทย ให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล
๓.๓ สร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เยาวชนไทย ให้มีความ สามารถในการสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อประกอบอาชีพในอนาคต
๓.๔ สร้างและส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิ ทัลให้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เพื่อรองรับและพัฒนาไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา
๓.๕ ส่งเสริมการสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจ ให้กับ เยาวชนไทยในวัยเรียน ที่เรียนดี ประพฤติดี มีความ กตัญญู และมีความสามารถด้านกีฬา
๓.๖ ส่งเสริมและให้การสนับสนุนสถานการศึกษาที่ขาดแคลนอุปกรณ์การ เรียน สื่อการเรียนการสอน และอุปกรณ์ด้านการกีฬา
๓.๗ ส่งเสริมและเชิดชูเกียรติประวัติครูและผู้บริหารสถาน ศึกษา ที่เป็นต้นแบบ
๓.๘ ส่งเสริมและเชิดชูเกียรติประวัติผู้สนับสนับสนุนโครงการฯจาก ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป ที่ ได้ร่วมกันทำความดี
๔. พื้นที่ดำเนินงาน
ดำเนินงานโครงการฯในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการที่ กรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆที่เป็นศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ แล้วค่อย กระจายไปยังจังหวัดใกล้เคียง
๕. จุดเด่น
โครงการฯ มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
๖. แนวทางการดำเนินงาน
๖.๑ วางกรอบแผนการดำเนินงาน ประสานผู้ร่วมดำเนินงาน ตามกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ที่ทำกิจกรรม
๖.๒ ประสานและประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ประกอบด้วยกระทรวง ทบวงกรม สถานศึกษา องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป
๖.๓ ประสาน ติดต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือหน่วยงาน องค์กร สถานศึกษา และบริษัท ห้างร้านเพื่อจัดเตรียมความ พร้อมหรือเพิ่มคณะทำงาน รองรับปริมาณหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการฯ
๖.๔ จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฯ ระหว่างมูลนิธิ ประเทศสีเขียว กับ สถานศึกษา บริษัท ห้างร้าน หรือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ให้ความร่วมมือและสนับ สนุนโครงการฯ
๖.๕ ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯทั่วประเทศ หรือติดต่อประสาน งานภาคส่วนต่างๆที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
๖.๖ ดำเนินการจัดอบรมเยาวชนเพื่อสอบและรับประกาศนียบัตรทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล หรือ International Computer Driving Lisense (ICDL)
๖.๗ จัดส่งชุดหนังสือเทิดไท้องค์ราชัน รัชกาล ที่ ๙ , ชุดข้อสอบ ICDL ,สื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ด้านกีฬา ไปยังสถานศึกษาที่เข้าร่วม โครงการฯ หรือตามความประสงค์ของผู้ให้การสนับสนุน
๖.๘ จัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติประวัติครู ผู้บริหารสถานศึกษา ที่เป็นต้นแบบ และผู้สนับสนุนโครงการฯ
๖.๙ การสรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
๗. ระยะเวลาดำเนินงาน
เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ - ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
๘. วิธีการดำเนินงาน
ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อติดต่อประสานงานกับสถาน ศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเข้าร่วม โครงการฯ และให้การสนับสนุนโครงการฯในทุกภูมิภาครวมทั้งการจัดตั้งทีม งานจากส่วนกลางและในพื้นที่เพื่อดำเนินงาน หรือจัดกิจกรรมอื่นๆที่ เกี่ยวข้องตามแนวทางการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
๙. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
มูลนิธิประเทศสีเขียว เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการ ดวงใจ ของแผ่นดิน (Heart of the Earth Project)
ร่วมกับองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สนใจเข้าร่วมกับมูลนิธิประเทศสีเขียว
๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมแสดงความอาลัยและถวายเป็นพระราช กุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ พระราชกรณียกิจและพระราชปณิธานของพระองค์ให้เยาวชนไทยได้ศึกษาเรียนรู้สืบ ต่อไป
๑๐.๒ เด็กและเยาวชนไทยมีคุณภาพทางด้านการศึกษา ได้รับการเรียนรู้ การศึกษาที่ดีอย่างมีระบบ
๑๐.๓ เด็กและเยาวชนไทย นักเรียนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาได้เรียนรู้ ได้พัฒนาทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา
๑๐.๔ เด็กและเยาวชนไทยได้พัฒนาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อประกอบอาชีพ ในอนาคต
๑๐.๕ เด็กและเยาวชนไทยในวัยเรียน ที่เรียนดี ประพฤติ ดี มีความกตัญญู และมีความสามารถด้านกีฬา ได้รับขวัญกำลังใจและความภูมิใจ
๑๐.๖ สถานการศึกษาที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน สื่อการเรียนการส อน และอุปกรณ์ด้านการกีฬา ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน
๑๐.๗ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบ ได้รับการส่งเสริมและเชิดชูเกียรติประวัติ
๑๐.๘ ผู้สนับสนับสนุนโครงการฯจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและ เอกชน รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป ที่ได้ร่วมกันทำความดี ได้รับ การส่งเสริมและเชิดชูเกียรติประวัติ
๑๑. วิธีการเข้าร่วม
๑๑.๑ ติดต่อ ประสานงานเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ ดวงใจของแผ่นดิน (Heart of the Earth Project) ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานมูลนิธิประเทศสีเขียว หรือเบอร์โทร ๐ ๒๕๔๐ ๒๐๔๘ - ๙, แฟกซ์ ๐๒๙๑๗๔๗๖๑, อีเมล์ heartoftheearthproject@gmail.com
๑๑.๒ ติดต่อ ประสานงานเข้าร่วมเป็นศูนย์เครือข่ายโครงการ ดวงใจของแผ่นดิน (Heart of the Earth Project) ของมูลนิธิประเทศสีเขียว เพื่อร่วมเป็นศูนย์เครือข่ายในจังหวัดต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค
๑๒. วิธีการสนับสนุนงบประมาณ
๑๒.๑ ติดต่อ ประสานงานงานเพื่อร่วมสนับสนุนงบประมาณ ในกรณี ที่เป็นหน่วยงาน องค์กรภาคเอกชน
และประชาชนโดยทั่วไป ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานมูลนิธิประเทศสีเขียว หรือเบอร์โทร ๐๒๕๔๐๒๐๔๘ – ๙,
แฟกซ์ ๐๒๙๑๗๔๗๖๑, อีเมล์ heartoftheearthproject@gmail.com
๑๒.๒ ให้การสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดอบรม หรือการจัดกิจกรรมต่างๆในกรณีที่เป็นหน่วยงาน หรือองค์กรภาครัฐ ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานมูลนิธิประเทศสีเขียว หรือเบอร์โทร ๐๒๕๔๐๒๐๔๘ - ๙, แฟกซ์ ๐๒๙๑๗๔๗๖๑, อีเมล์ heartoftheearthproject@gmail.com
๑๒.๓ โอนเงินสนับสนุนเข้าบัญชีธนาคารหรือสนับสนุนเป็นเช็คในนาม " โครงการ ดวงใจของแผ่นดิน"
หรือ "Heart of the Earth Project"
๑๓. การประชาสัมพันธ์
๑๓.๑ ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายโครงการ ดวงใจของแผ่นดิน (Heart of the Earth Project) ของมูลนิธิประเทศสีเขียว ประจำจังหวัดต่างๆในแต่ละภูมิภาค
๑๓.๒ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ โทรทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๑๓.๓ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook YouTube และเว็บไซต์www.greencountryfoundation.org
๑๔. งบประมาณดำเนินงานและการจัดกิจกรรม
ใช้งบประมาณจนเสร็จสิ้นโครงการฯ (๙ ตุลาคม ๒๕๖๐)
ส่วนที่ ๑ ชุดหนังสือเทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ จำนวน ๓๐,๐๐๐ ชุด เป็นเงิน จำนวนเงิน ๔๕๗,๒๓๐,๐๐๐ บาท
ส่วนที่ ๒ ชุดข้อสอบ International Computer Driving Lisense (ICDL) จำนวน ๕๐,๐๐๐ ชุด จำนวนเงิน ๓๙๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
รวมเป็นจำนวนเงิน ๘๕๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท (แปดร้อยห้าสิบสองล้านสองแสนบาทถ้วน)
๑๕. ตัวอย่างชุดหนังสือเทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ และเอกสารชุดข้อสอบ ICDL
๑๕.๑ ตัวอย่างชุดหนังสือเทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ ชุดที่ ๑, ชุดที่๒, และชุดที่๓
ชุดที่ ๑
ชุดที่ ๒
ชุดที่ ๓
๑๕.๒ ตัวอย่างเอกสารชุดข้อสอบ ICDL
๑๖. คณะกรรมการ
คณะกรรมการที่ปรึกษา
คณะกรรมการดำเนินงาน